1. Research Stage
หลังจากตกลงที่จะร่วมงานกัน สถาปนิก จะเริ่มทำ Research ข้อมูลด้านต่างๆเพื่อใช้ในการทำงาน และเป็นเงื่อนไขที่ทั้งผู้ออกแบบ และเจ้าของโครงการต้องเข้าใจตรงกัน
2. Concept Design Stage
จริงๆแล้วเป็นที่ถกเถียงและงุนงง ของนักออกแบบมาเนิ่นนาน ว่า Concept คืออะไร? จำเป็นต้องมีจริงๆหรือไม่ เราสามารถทำงานจาก Condition (เงื่อนไข) และ Priority (ลำดับความสำคัญ) ได้หรือไม่ จริงๆแล้วสองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราต้องใช้ในการออกแบบอยู่แล้วครับ การออกแบบชุดเครื่องมือ (Design Tools) สำหรับงานออกแบบ (Design Production) นั้นสำคัญมากๆ การตั้งเป้าหมายของสถาปัตยกรรม จะแตกย่อยออกมาเป็นวิธีการในการไปถึงเป้าหมายนั้นๆได้อย่างไม่นอกประเด็น ช่วง Research Stage และ ช่วง Concept Design Stage เจ้าของโครงการจะได้รับรู้ถึงข้อมูล และวิธีการนำข้อมูลต่างๆนั้นมาสังเคราห์เป็นงานออกแบบ
3. Design Develop Stage
หลังจากจบงานส่วนที่เป็นช่วง Concept Design Stage เราจะได้แบบร่างออกมา ในส่วนของ Production ก็จะมีดังนี้
Lay-out plan และ Floor Plan คือผังแบบแปลนที่เห็นฟังค์ชั่นการใช้งานต่างๆ รวมไปถึงระยะ และวัสดุของบ้าน และงานระบบเบื้องต้น
Section รูปตัดของบ้านจะแสดงให้เห็นถึงระยะในแนวดิ่งของบ้าน แต่ที่สัมคัญกว่านั้น คือ ความสัมพันธ์ของพื้นที่ทั้งหมดของบ้าน ด้วยความที่สถาปัตยกรรมนั้นเป็นงาน 3 มิติ – 4 มิติ ฉะนั้นแล้วความสัมพันธ์ของพื้นที่ต่างๆจะมีมากมายหลายเรื่อง อาทิเช่น การเข้าถึง การมองเห็น การได้ยิน รวมไปถึงทิศทางของมวลอากาศร้อย-เย็น ความรู้สึก อารมณ์เป็นต้น
Elevation รูปด้าน ระแสดงให้เห็นถึงรูปทรงหน้าตาของอาคาร ทั้งระยะและวัสดุ รวมไปถึงการเกิดแสงเงาของอาคาร
Perspective เป็นภาพ 3 มิติ ที่ใช้อธิภายแบบในมุมมองของมนุษย์ (man eyes view) ของนก (bird eyes view) ของหนอน (worm eyes view) แล้วแต่ว่าจุดประสงค์ของผู้ออกแบบต้องการนำเสนออะไร โดยส่วนมากแล้วจะนำเสนอให้รับรู้ถึง Architectural space (พื้นที่ว่างที่ทำให้เกิดทั้งการงานทางด้านต่างๆรวมไปถึงการใช้งานทางด้านความรู้สึก) และวัสดุต่างๆ สามารถรับรู้ได้ว่าถ้ายืนอยู่ตรงนี้จะมองเห็นอาคารในรูปแบบใด
Architectural Model หุ่นจำลองสถาปัตยกรรม Architectural Model จะทำให้เราและเจ้าของโครงการเห็นมิติของอาคารได้ดียิ่งขึ้น เพราะต้องเข้าใจว่าเจ้าของบ้านส่วนใหญ่นั้นไม่ได้เรียนการอ่านแบบสถาปัตยกรรม หรือ วิศวกรรมมา ฉะนั้นแล้วการใช้ Perception ในรูปแบบบ้าน จาจา นั้นเป็นวิธีที่ทำให้ทุกคนเข้าใจรายละเอียดและการเชื่อมต่อของพื้นที่ต่างๆภายในบ้านได้ดีที่สุด
ในช่วง Design Develop นี้ก็จะพัฒนาแบบไปจนตรงตามเป้าหมายหลักที่เราตั้งไว้ในช่วงแรก(Research Stage) โดยใช้วิธีการจากข้อที่2(Concept Design Stage) เพื่อให้ได้ผลลัพภ์ในข้อที่ 3(Design Develop Stage)
4. for Submission Drawing Stage
หลังจากสรุปแบบร่างกันไปแล้วนั้น ผู้ออกแบบก็จะนำรายละเอียดของแบบบในช่วง Design Develop มาทำให้เป็นแบบขออนุญาตก่อสร้าง เนื้อหาของแบบขออนุญาติก่อสร้างนั้นเพื่อ แจ้งให้กับทางหน่วยงานราชการเข้าใจว่า บ้านหลังนี้มีโครงสร้างที่แข็งแรงปลอดภัย ปลอดภัยต่อละแวกข้างเคียง ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานเอง และไม่เป็นที่รบกวนหรือริดรอนสิทธิของผู้อื่นและสาธารณะประโยชน์
จุดประสงค์หลักของแบบขออนุญาติมีเพียงเท่านี้จริงๆ ฉะนั้นแล้วในแบบชุดสำหรับขอนุญาตก่อสร้างรายละเอียดแบบจะไม่เยอะเท่าแบบในช่วง Tender หรือ Construction Drawing เพื่อสะดวกในการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ
5. for Tender Drawing Stage
เป็นขั้นตอนจัดทำแบบเพื่อการประมูลงานก่อสร้าง ข้อนี้สำคัญมาก เคยเขียนบทความเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับเหมาไปหลายครั้ง ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของบ้านมาก ทำไมต้องประมูลงาน? โดยปกตินั้นคนที่จะสร้างบ้านส่วนใหญ่แล้วจะคิดถึงผู้รับเหมาก่อนผู้ออกแบบ เมื่อเจ้าของบ้านเลือกผู้รับเหมาก่อนที่จะมีแบบก่อสร้างพร้อมรายการประมาณราคา จะทำให้เจ้าของบ้านนั้นถูกผูกขาดราคาไปโดยปริยาย ไม่รู้ราคาที่แน่ชัดของวัสดุและค่าแรงต่างๆ เพราะไม่มีคนมาเปรียบเทียบราคา สัญญาที่ไม่รัดกุม สัญญาที่ผู้รับเหมาได้ประโยชน์ ฉะนั้นแล้วเอกสารสำหรับการประกวดราคานั้นค่อนข้างสำคัญและมีประโยชน์ จนท้ายที่สุดแล้วมูลค่าที่เจ้าของบ้านจะได้หลับคืนมานั้นมากกว่าค่าออกแบบของสถาปนิกด้วยซ้ำไป เอกสารสำหรับการประกวดราคานั้นประกอบไปด้วย
TOR (Term of reference) ข้อกำหนดและข้อตกลงสำหรับผู้รับเหมาที่สามารถเข้ามาร่วมประกวดราคา เอกสารในที่นี่จะกล่าวถึงคุณสมบบัติต่างๆของผู้รับเหมา ทั้งเรื่อง ทุนจดทะเบียน มูลค่าผลงานที่เคยสร้างมา สภาพคล่องทางการเงิน การสามารถยอมรับในข้อตกลงต่างๆ ในขั้นตอนการทำสัญญา ไปจนถึงกระบวนการก่อสร้าง ที่ทางผู้ออกแบบได้ตั้งไว้ หากคุณสมบัติผ่านจะสามารถเข้าร่วมประกวดราคาได้ นี่เป็นด่านแรกที่ผู้รับเหมาต้องเจอ ฉะนั้นแล้วเราจะสามารถคัดกรองผู้รับเหมาที่มีฝีมือและคุณภาพมาได้ในระดับหนึ่ง
แบบก่อสร้างพร้อมรายการประกอบแบบ ในแบบที่ผู้รับเหมาจะได้ไปในการคิดราคานั้นต้องระบุวัสดุอุปกรณ์ วิธีการติดตั้งของวัสดุต่างๆ อย่างชัดเจนเพื่อเป็นเงื่อนไขให้ผู้รับเหมาสามารถทำราคาได้อย่างแม่นยำ และไม่เกิดปัญหาทะเลาะกันภายหลัง โดยปกติแล้ว สภาสถปนิก ห้ามไม่ให้ ระบุวัสดุชนิดใดชนิดหนึ่ง ให้ระบุวัสดุ 3 ยี่ห้อหรือเทียบเท่า เพื่อไม่ให้ผู้ออกแบบ Lock spec เนื่องจากผู้ออกแบบอาจได้ผลประโยชน์ในทางที่มิชิบจากทางผู้จำหน่ายวัสดุนั้นๆ แต่เนื่องด้วยปัจจุบันความหลากหลายของวัสดุทั้งรูปแบบและคุณภาพวัสดุในปัจุบันนั้นแตกต่างกันมาก เราเลยมองว่า เราเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดให้กับเจ้าของบ้าน ส่วนเจ้าของบ้านจะปรับลดปรับเปลี่ยนวัสดุใดๆ นั่นก็เป็นไปตามความประสงค์ของเจ้าของบ้าน ทั้งนี้เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทว่าจะมองในมุมไหน แต่เราเชื่อว่าในช่วงนี้ควรจะใช้วัสดุที่จำเพาะเจาะจงไปเลย ไม่เช่นนั้นแล้วผู้รับเหมาก็จะจัดหาของที่ราคาถูกที่สุดมาเพื่อเสนอราคาที่ถูกที่สุด
Blank Form คือ BOQ หรือเอกสารประเมิณราคาที่ถอดเอาปริมาณและราคาออกเพื่อที่ผู้รับเหมาจะได้กรอกราคาที่จะเสนอได้ในช่วงขั้นตอนนี้
BOQ ประเมินราคาจากผู้ออกแบบ ใช้เพื่อเปรียบเทียบปริมาณและราคาที่ผู้รับเหมานั้นเสนอมา
การรัดกุมทางด้านเอกสารในขั้นตอนนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของบ้านมาก เมื่อเกิดการแข่งขัน ราคาค่าก่อสร้างก็จะยิ่งสมเหตุสมผลมาขึ้น ผมขอใช้คำว่าสมเหตุสมผล เพราะของถูกไม่ใช่ของไม่ดีเสมอไป และ ของแพงก็ไม่จำเป็นว่าต้องดีเสมอไป
6. for Construction Drawing
ในช่วงงานก่อสร้าง เรา กำหนดไว้ชัดเจนใน TOR ตั้งแต่แรกว่ากระบวนการก่อสร้างต่างๆต้องเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประกันภัยต่างๆ มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง แผนงานการเบิกจ่ายงวด ส่วนของ bank guarantee
ผู้รับเหมาต้องดำเนินตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นแล้วเจ้าของบ้านปฏิเสธในการจ่ายงวดงานได้ และถึงแม้ว่าผู้รับเหมาจะทิ้งงาน ด้วยเอกสารที่รัดกุม เจ้าของบ้านก็ยังมีธนาคารค้ำประกันอยู่ และสิ่งสำคัญที่ผู้รับเหมาต้องทำก็คือ เอกสารรายงานการก่อสร้างต่างๆ วาระการประชุม รายงานการประชุม เอกสารอนุมัติวัสดุ ทั้งหมดนี้ต้องทำเป็น Daily report – Weekly report – monthly report ในช่วงนี้ผู้ออกแบบจะเข้าไปตรวจสอบ ประชุม และประสานงาน ตามความซับซ้อนของงา